เมื่อเรามาพูดถึงเรื่อง ชุด PPE
เมื่อมองย้อนกลับไปในช่วงเริ่มต้นของการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา Covid -19 ศาสตราจารย์พอล เอลคิงตัน กล่าวว่า ในไม่ช้าเขาและเพื่อนร่วมงานก็จะไม่มีชุด PPE (อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล) ศาสตราจารย์พอลเป็นแพทย์ด้านปอด และภายในกลางเดือนมีนาคม 2020 เราตระหนักว่ากระบวนการที่เราต้องปกป้องพนักงานของเรานั้นอยู่ในจุดอันตรายแล้ว ศาสตราจารย์พอล เอลคิงตัน ที่ปรึกษาด้านระบบทางเดินหายใจของโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยเซาแธมป์ตัน กล่าว “ตอนแรกเราสวมหน้ากาก FFP3 แบบใช้แล้วทิ้ง และกระบังหน้า แต่ภายในไม่กี่สัปดาห์ก็เห็นได้ชัดว่าเราไม่สามารถใช้อุปกรณ์เหล่านั้นได้อีกแล้ว มันไม่เพียงพอ”
ในขณะที่ไวรัสโคโรนาในอากาศแพร่กระจายไปทั่วโลก ความต้องการชุด PPE อย่างเร่งด่วนได้นำไปสู่การขาดแคลนอย่างรุนแรง ศาสตราจารย์พอล เอลคิงตัน ถูกบังคับให้คิดหาวิธีแก้ไขปัญหา ทีมของเขาได้คิดค้น PerSo ซึ่งเป็นอุปกรณ์ช่วยหายใจส่วนบุคคลที่ใช้พลังงานจากแบตเตอรี่โดยสวมไว้เหนือศีรษะเหมือนหมวกที่มีหน้าต่างใส ที่สามารถพกติดตัวได้ ราคาประมาณ 225 ปอนด์ต่อชิ้น น้ำหนักเบา และใช้ซ้ำได้ ฆ่าเชื้ออากาศที่เข้ามาโดยใช้ตัวกรองการดูดซับอนุภาคที่มีประสิทธิภาพสูงที่สามารถเปลี่ยนได้ เมื่อเวลาผ่านไป เห็นได้ชัดว่า PerSo ไม่เพียงสะดวกสบายและมีประสิทธิภาพมากขึ้นเท่านั้น แต่ยังคุ้มค่ากว่าเมื่อเทียบกับชุด PPE แบบใช้แล้วทิ้งอีกด้วย
เครื่องช่วยหายใจ PerSo มีการใช้งานอย่างแพร่หลาย ในโรงพยาบาลอื่นๆ ทั่วประเทศ ทั้งเขาและเพื่อนร่วมงาน ได้รับรางวัล MBE ในเวลาต่อมา สําหรับการผลิตเครื่องช่วยหายใจ แต่ถึงแม้จะมีการเจรจากับ Dyson พวกเขาก็ตัดสินใจที่จะไม่จดสิทธิบัตรการออกแบบของพวกเขา กำหนดให้เป็นโอเพนซอร์ส Open Source พวกเขาเผยแพร่การออกแบบบนอินเทอร์เน็ต เพื่อให้คนอื่นสามารถทำซ้ำได้ในประเทศอื่น ๆ
ย้อนกลับไปในอดีต การจัดหาชุด PPE ยังคงเป็นประเด็นถกเถียงกัน ถึงในช่วงเวลาที่วิกฤตที่สุด ในภาวะการระบาดของโรคโควิด 19 การจัดซื้อพบว่ามีการพยายามอย่างยิ่งที่จะจ่ายราคาสูงสําหรับ PPE ที่ส่วนใหญ่มาจากประเทศจีน ซึ่งบางส่วนได้รับการพิสูจน์แล้วว่าไม่เหมาะสมหรือมีแม้กระทั่งของปลอม ข้อมูลอย่างไม่เป็นทางการ เปิดเผยว่าชุด PPE มูลค่า 673 ล้านปอนด์ ที่ซื้อในช่วงที่มีการระบาดใหญ่นั้น ใช้ไม่ได้ ในขณะที่อุปกรณ์ 750 ล้านปอนด์ไม่ได้ใช้ก่อนวันหมดอายุ ผู้เชี่ยวชาญ กล่าวว่า การพึ่งพาประเทศซัพพลายเพียงแห่งเดียว ถือเป็นความเสี่ยงที่น่ากลัวเสมอ เขากล่าวว่า ความท้าทายหลักของชุด PPE คือ รัฐบาลจะไม่ซื้อจนกว่าพวกเขาจะต้องการมันอย่างเร่งด่วนจริงๆ
จากความวุ่นวายของชุด PPE ที่มีต่อของการระบาดใหญ่ ของโควิด 19 และปัญหาต่างๆ จึงมีแนวคิดที่จะออกแบบเสื้อคลุมที่นํากลับมาใช้ใหม่ได้ รวมถึง ผ้ากันเปื้อน ผ้าม่านและหมวกของศัลยแพทย์ ผลิตภัณฑ์สิ่งทอต่างๆ มักจะทําจากโพลีเอสเตอร์หรือผ้าฝ้าย สำหรับต้นทุน จะมีตั้งแต่ 4 ปอนด์ถึง 50 ปอนด์ แต่สิ่งที่จำเป็นต่อมา ก็คือ กระบวนการซักอบรีดพิเศษและการฆ่าเชื้อโดยเฉพาะที่มีการฆ่าเชื้อที่อุณหภูมิ 134 °C
แต่การเปลี่ยนจากใช้แล้วทิ้งเป็นการนำกลับมาใช้ใหม่นั้นไม่ใช่เรื่องง่ายสำหรับโรงพยาบาลส่วนใหญ่ เนื่องจากโรงพยาบาลเหล่านี้ไม่มีสถานที่ซักรีดที่รองรับการฆ่าเชื้อที่มีประสิทธิภาพ รวมถึงโรงพยาบาลหลายแห่งว่าจ้างจากภายนอก ดังนั้นโรงพยาบาลหลายแห่ง ยังคงเลือกที่จะใช้งานชุด PPE ที่ใช้แล้วทิ้งเช่นเดิม แต่ผลกระทบที่ตามมานั้นคือเรื่องของขยะชุด PPE แต่เป็นที่น่าดีใจที่ มีบางบริษัทได้สร้างนวัติกรรมการทำลาย ชุด PPE แบบใหม่ๆ ไม่ให้กระทบกับสิ่งแวดล้อม โดยที่จะไม่ใช้วิธีเผาทำลายด้วยการเผาไฟ แต่เลือกที่จะมีการบีบอัดให้อยู่ในรูปของบล๊อกเพื่อประยุกต์ใช้งานอื่นๆ เช่น การสร้างถนน เป็นต้น