สรุป : เรื่องน้ำมันของประเทศไทย, ค่าการกลั่น เพื่อความเข้าใจที่ถูกต้อง โดย คุณสุวัฒน์ สินสาฎก (สัมภาษณ์โดย ลงทุนแมน)
ในสภาวะของโลกปัจจุบันปี 2022 ที่อยู่ในยุคของ “น้ำมันแพงสุดๆ” ประชาชนคนทั้งโลก ได้รับผลกระทบ มากบ้าง น้อยบ้าง แล้วแต่ว่าประเทศนั้นๆจะมีสภาพเศรษฐกิจและพื้นฐาน เป็นอย่างไร ? และเรื่องของน้ำมันบ้านเรา นั้นก็มักจะมีคนพูดมาเสมอว่า “บ้านเรา น้ำมันแพงกว่าที่อื่น เพราะ…..” และ “บ้านเรา ส่งออกน้ำมัน แต่ทำไม ? น้ำมันยังแพงอยู่ ” ผมเคยตั้งคำถามในใจมาเสมอ ว่า ขอแบบชัดๆได้ไหม อธิบายหน่อย สรุปว่าจริงๆแล้ว เรื่องน้ำมันของไทยเราเนี่ย มันเป็นยังไงกันแน่ คือ งงอ่ะ สับสน ไม่รู้จะเชื่อใครดี !!
ซึ่งเมื่อไม่นานมานี้เอง เป็นโชคดีของผม ที่ Facebook นั้นได้โผล่เนื้อหาของเพจๆหนึ่ง ชื่อเพจว่า “ลงทุนแมน”ซึ่งเป็นเพจเกี่ยวกับการเงิน การลงทุนต่างๆ ที่ดีมากๆเลย (ผมไม่มีส่วนได้-เสีย หรือพยายามโฆษณา ให้กับเพจนี้นะครับ แต่เนื้อหาเขาดีจริง จึงขอยกเอามาพูด จะได้เป็นประโยชน์ให้กับคนหลายๆคน) ซึ่งทางเพจได้สัมภาษณ์ คุณสุวัฒน์ สินสาฎก กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์ที่ปรึกษาการลงทุน FSSIA ในประเด็นเรื่องค่าการกลั่น ที่กำลังเป็นประเด็นอยู่ในขณะนี้ ว่า การที่รัฐขอส่วนแบ่งค่าการกลั่นจาก บริษัทเอกชน จะกระทบมากน้อยเพียงไร ? กระทบใคร ? คุ้มหรือไม่ ? รวมถึงเรื่องของน้ำมันของประเทศไทย ที่มีทั้งน้ำเข้า ส่งออก ที่หลายๆคนยังไม่ทราบข้อเท็จจริง
สรุปประเด็นที่ผมเห็นว่าสำคัญ ที่ได้รับจากการสัมภาษณ์นี้ ขอสรุปเป็นข้อๆ ดังนี้ครับ
1.ค่าการกลั่น คืออะไร ? ตอบ : ค่าการกลั่น คือ “ผลต่างระหว่างราคาขาย และต้นทุนวัตถุดิบ” = กำไรเบื้องต้น (ที่ยังไม่ได้หักค่าเสื่อม)
ซึ่งปัจจุบัน(ที่สัมภาษณ์) ราคาน้ำมันอยู่ประมาณ 120 USD ต่อบาเรล จะมีค่าการกลั่นอยู่ที่ 20$
วิธีคำนวนค่าการกลั่นเป็นลิตร คือ 5$ ต่อ บาเรล จะประมาณ 1 บาท ต่อลิตร ดังนั้น 20$ ต่อบาเรล ก็จะเป็น 4 บาท ต่อลิตร นั่นเอง *คือค่าการกลั่นในตลาดตอนนี้
2.อุสาหกรรมโรงกลั่นน้ำมัน เป็น CyCle วัฏจักร มีช่วงที่กำไรดี และมีช่วงที่กำไรแย่ แต่ละช่วงเป็นเวลาหลายปี
3.ทำไมราคาน้ำมันประเทศไทยแพง ? ข้อเท็จริง !! ประเทศไทย เป็นผู้ที่ขายน้ำมันราคาถูกเป็นอันดับ 3 ของ อาเซียน (อันดับ 3 กับ 4 น่าจะใกล้เคียงกัน)
อันดับที่ 1 คือ บรูไน ขายน้ำมันให้ประชาชนถูกที่สุด เพราะเป็นประเทศส่งออกน้ำมันเป็นหลัก
อันดับที่ 2 คือ มาเลเซีย เพราะ เป็นผู้ส่งออกรายใหญ่ ของ ก๊าช และน้ำมันดิบ คล้ายๆ บรูไน แต่โรงกลั่นมีกำลังกลั่นไม่เยอะเท่าไทย
อันดับที่ 3 คือ ประเทศไทย
4. ประเทศไทย ส่งออกน้ำมันดิบ ใช่หรือไม่ ?
ตอบ : ใช่ แต่….
// ประเทศไทยส่งออกน้ำมันดิบ และน้ำมันที่กลั่นแล้ว ใช่หรือไม่ ?
ตอบ : ใช่ แต่….
ลองฟังคำตอบกันก่อนนะ แล้วจะเข้าใจประเทศไทย
- ประเทศไทยนำเข้า น้ำมันดิบ 800,000 บาเรล ต่อวัน เพื่อใช้ในประเทศ ประมาณ 700,000 บาเรลต่อวัน
- ประเทศไทย ส่งออก น้ำมันดิบที่กลั่นแล้ว ประมาณ 100,000 บาเรล ต่อวัน (ส่งออกไป เขมร , ลาว, พม่า, เวียดนาม)
- ประเทศไทย ส่งออก น้ำมันดิบ ที่ประเทศไทยขุดได้ น้ำมันประเภทนี้ไม่สามารถกลั่นด้วยโรงกลั่นที่มีในประเทศไทย* แต่ปริมาณส่งออกน้ำมันที่ขุดได้นี้ มีจำนวนไม่มากเมื่อเทียบกับปริมาณการใช้ในประเทศไทย
*ซึ่งมันก็อธิบายได้ประมาณว่า ต่อให้โรงกลั่นในประเทศไทยสามารถกลั่นน้ำมันดิบที่ขุดในประเทศไทยได้ทั้งหมด ก็ไม่เพียงพอต่อการใช้ในประเทศอยู่ดี (คือขุดได้น้อยมาก) ดังนั้น โรงกลั่นในประเทศไทย จึงสร้างไว้เพื่อให้สามารถกลั่นน้ำมันดิบในชนิดที่เรานำเข้ามาจากต่างประเทศ มากกว่าที่จะสร้างไว้กลั่นน้ำมันดิบชนิดที่ขุดได้ในประเทศไทย
*หมายเหตุ น้ำมันดิบที่ขุดได้ในแต่ละแห่งในโลกนี้ มีลักษณะไม่เหมือนกัน จึงใช้กับโรงกลั่นแต่ละประเภทไม่เหมือนกัน
คำถาม เคยได้ยินบ่อยที่ว่า มีคนมาบอกว่า แล้วประเทศไทย ทำไม? ไม่สร้างโรงกลั่นให้สามารถกลั่นน้ำมันดิบที่มีในประเทศให้ได้ล่ะ ?
คำตอบ มันไม่ได้สร้างโรงกลั่นกันได้ง่ายๆ ใช้ทุนมหาศาล และไม่คุ้มที่จะทำแล้ว และน้ำมันดิบที่ขุดได้ในประเทศ ก็มีปริมาณไม่มาก ไม่คุ้ม
5. การแทรกแซงค่าการกลั่นโดยรัฐ สมควรหรือไม่ ?
ตอบ : ( หาคำตอบได้ในวีดีโอครับ ^ ^ )
// ทราบหรือไม่ ?? //
” โรงกลั่นน้ำมัน มันเป็นทรัพย์สิน ธุรกิจ เชิงกลยุทธ์มากนะ มันเป็นส่วนของความมั่นคงของประเทศ”
//สุวัฒน์ สินสาฎก กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์ที่ปรึกษาการลงทุน FSSIA//
ซึ่งหากท่านใดอยากที่จะฟังเนื้อหาเต็มๆ แนะนำที่ Link นี้ครับ
ขอขอบคุณ
- เพจลงทุนแมน
- คุณสุวัฒน์ สินสาฎก กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์ที่ปรึกษาการลงทุน FSSIA