คุยประเด็น เรื่องแชร์ข่าวต่อจาก อินฟลูเอนเซอร์ เป็นผู้ปล่อย fake news ผิดหรือไม่??
ประเด็นแรกที่ต้องการทำความเข้าใจก่อนว่า อินฟลูเอนเซอร์ (Influencer) คือ อะไร
อินฟลูเอนเซอร์ (Influencer) อาจจะ แปล ว่า เป็นผู้ทรงอิทธิพลทางความคิด คือบุคคลหรือกลุ่ม บุคคล ที่สนใจ หรือมีความรู้ ความเชี่ยวชาญ ในสิ่งหนึ่งๆ จะเป็นผู้ที่ชื่อเสียงหรือไม่มีชื่อเสียงก็ได้ จากนั้นจึงรวบรวมข้อมูลจากช่องทางต่างๆ รวมทั้งประสบการณ์ของตนเอง และถ่ายทอดสิ่งที่ตนเองรับรู้ไปยังบุคคลอื่น อีกทอดหนึ่งอย่างเป็นธรรมชาติและมีความน่าเชื่อถือ ซึ่งสถานการณ์ที่ผู้บริโภคมักจะหันไปพึ่งผู้นำทางความคิด ส่วนใหญ่มักเกิดจากความไม่มั่นใจในการตัดสินใจซื้อสินค้าและบริการ
อินฟลูเอนเซอร์ (Influencer) มีลักษณะประกอบดังนี้
1.เป็นที่ชื่นชอบและมีผู้ติดตามจำนวนมาก ลักษณะที่ทำให้บุคคลเป็นที่ชื่นชอบ เกิดการติดตาม และเป็นแบบอย่าง อาจเกิดจาก ความชื่นชอบในความสามารถพิเศษ ความชื่นชอบในรูปร่างหน้าตา และความชื่นชอบในฐานะความเป็นอยู่
2.ความเชี่ยวชาญ หรือประสบการณ์เฉพาะด้าน คือ การประสบความสำเร็จในด้านใดด้านหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นด้านการแสดง การเล่นกีฬา หรือด้านความสวยงาม หากทำให้ผู้บริโภคเชื่อในสิ่งเหล่านนั้นได้ ก็จะสามารถนำไปสู่ความชื่นชอบและมีกลุ่มคนติดตามเพิ่มขึ้นได้
3.สร้างสรรค์เนื้อหา หรือมีวิธีการนำเสนอที่แปลกใหม่เพื่อให้เกิดความสนใจ หมายถึง ผู้ทรงอิทธิทางความคิด ต้องมีความสดใหม่ ไม่เพียงแต่ส่งต่อข้อมูลที่น่าสนใจเท่านั้น แต่ต้องสร้างเนื้อหา และรูปแบบใหม่ๆที่น่าสนใจควบคู่ไปกับการนำเสนอข้อมูลด้วย[1]
อินฟลูเอนเซอร์ (Influencer) ในที่นี้ผู้เชียนจะเน้นไปที่ผู้ที่ให้ข้อมูลหรือการแชร์ข้อมูลภายในสื่อสังคม สื่อสังคม หมายถึง บริการบนอินเทอร์เน็ตที่อนุญาตให้แต่ละบุคคลสร้าง แชร์และค้นหา เนื้อหาตลอดจนสื่อสารกับบุคคลอื่น (Kim, Jeong, & Lee, 2010) หนึ่งในคุณสมบัติที่น่าสนใจของ สื่อสังคม คือการรองรับเนื้อหาที่ผู้ใช้สร้างขึ้น และเปลี่ยนพฤติกรรมของบุคคลจากผู้บริโภคเนื้อหา กลายเป็นผู้ผลิตเนื้อหาแทน (Nov, Naaman, & Ye, 2010) เมื่อบุคคลเหล่านี้แบ่งปันความคิดเห็น ข้อมูลเชิงลึก ความรู้และเนื้อหาอื่น ๆ ในขณะเดียวกันพวกเขายังสร้างและรักษาความสัมพันธ์กับ บุคคลอื่นที่มีความต้องการ ความสนใจ หรือปัญหาที่คล้ายกันไปในตัว (Cho, Chen, & Chung, 2010)[2] เช่น เพจ หมอแล็บแพนด้า เพจDrama-addict เพจThe Matter เพจ THE STANDARD เพจ ขุนแผน รำแพนพัด ซึ่งสื่อสังคมในปัจจุบันมีความแตกต่างจากสื่อสังคมแบบดั้งเดิมดังนี้ ประการแรกในสื่อสังคมปัจจุบัน ผู้ใช้มีส่วนร่วมอย่างมากในการผลิตเนื้อหาข่าวโดยการส่งลิงก์ (Link) หรือข่าวจากแหล่งต่าง ๆ (Szabo & Huberman, 2008) ประการที่สองถึงแม้บุคคลจะอยู่ห่างกันไกลพียงใด ผู้ใช้สื่อสังคม ในปัจจุบันก็สามารถเชื่อมโยงซึ่งกัน และสามารถแพร่กระจายข่าวสารไปยังชุมชนออนไลน์ภายใน ไม่กี่วินาทีประการสุดท้ายสื่อสังคมแตกต่างจากสื่อดั้งเดิมที่กลุ่มผู้ชมสามารถก าหนดเลือกตัวข่าว และเลือกคนที่จะสื่อสารด้วยได้อย่างอิสระ (Chung, 2008) จะเห็นได้ว่าตัวสื่อเองได้มีการ เปลี่ยนแปลงไปตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ซึ่งส่งผลให้พฤติกรรมในการเปิดรับสื่อและการใช้งานสื่อ เปลี่ยนแปลงไปเช่นกัน อินฟลูเอนเซอร์ (Influencer) มีการนำเสนอชุดข้อมูลที่พร้อมจะนำเสนอให้กับผู้บริโภคได้เสพ เนื้อหาของชุดข้อมูลที่อินฟลูเอนเซอร์ (Influencer) ต้องการที่จะนำเสนอไปทางที่ตนต้องการได้อย่างมากมายตามจำนวนผู้ติดตามที่ได้สร้างไว้ ซึ่งการสร้างชุดข้อมูลที่นำเสนอออกมานั้นเป็นการให้ความสมเหตุสมผล (Justification) ให้กับผู้บริโภคในสร้างชุดความคิดหนึ่งไปบังคับการแสดงออกของผู้บริโภค
[1] กิติยา สุริวรรณ พิชามน พวงสุวรรณ และอุรพี จุลิมาศาสตร์. (2559). ความสัมพันธ์ระหว่างผู้ทรงอิทธิพลทางความคิด ผู้บริโภค และตราสินค้า. วารสารการสื่อสารและการจัดการ นิด้า, ปีที่ 2 กันยายน- ธันวาคม 2559(ฉบับที่ 3),หน้า 86.
[2] นายฌาธร มารศรี. (2561). ปัจจัยทีมีอิทธิพลให้บุคคลเชื่อ หรือแชร์บทความเท็จบนสังคม. (วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาธรรมศาสตร์), หน้า 7.
อีกทีหนึ่ง เพื่อเป็นการประกาศว่า สิ่งที่คุณทำอยู่นั้นมันผิด คุณควรทำตามผมสิ(อินฟลูเอนเซอร์)แล้วชีวิตคุณจะดีขึ้น ซึ่งการโฆษณาหรือการชักชวนนั้นจะต้องนำไปสู่ผลประโยชน์ไม่จะเป็นทางด้านการเงิน ชีวิต ความรัก และปัญหาต่างๆ ที่ผู้บริโภคนั้นได้ประสบพบเจอในชีวิตประจำวัน เช่น เพจ The Matter ได้นำเสนอชุดข้อมูลเกี่ยวกับการสมรสของ LGBTQ+ ซึ่งตัวอินฟลูเอนเซอร์คือ เพจ The Matter ได้สร้างความสมเหตุสมผลโดยการใช้สร้างข้อมูลเกี่ยวกับการสมรสของ LGBTQ+ โดยการนำเสนอข่าวเกี่ยวกับเหตุการณ์การจดสมรสของคู่รักที่เป็น LGBTQ+ คู่หนึ่ง นี่จึงเป็นการนำเสนอความสมเหตุสมผลผ่านการนำเสนอของ อินฟลูเอนเซอร์ให้กับผู้บริโภคที่ต้องการให้มีการสมรสอย่างเท่าเทียมและผู้บริโภคที่สนใจเนื้อหาข่าวที่ได้นำเสนอ ให้มีชุดความคิดว่าเราสามารถสมรสกันได้อย่างเท่าเทียมไม่ว่าจะเพศไหน ชายรักชาย หญิงรักหญิงก็สามารถทำได้ ถึงแม้ในทางกฏหมายจะยังทำไม่ได้ ณ ตอนนี้
อินฟลูเอนเซอร์ (Influencer)ไม่ได้แชร์ข่าวถูกต้องเสมอไป
พฤติกรรมการแชร์ข่าว หรือการเชื่อข้อมูลข่าวที่ถูกแชร์จากอินฟลูเอนเซอร์ (Influencer)นั้นไม่ได้อยู่บนมาตรฐานของความถูกต้องข้อมูลเสมอไป ในบางครั้งข้อมูลที่ถูกแชร์จากอินฟลูเอนเซอร์ (Influencer)ก็เป็นข้อมูลที่ผิดพลาดหรือเข้าใจผิด เช่น เพจสรยุทธ์ สุทัศนะจินดา กรรมกรข่าว ได้ทำการแชร์ข่าว น้องกวางเดียร์ลอง เกี่ยวกับการย้ายประเทศ โดยมีเนื้อหาดังนี้ “น้องกวาง เดียร์ลอง ออกไปอยู่ฮอลแลนด์แล้ว ครับ … ‘เบลล์ ขอบสนาม’ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กระบุ“กวาง เดียร์ลอง ที่น่ารักของเราไปอยู่ฮอลแลนด์ยาวๆ แล้วนะครับ ไม่ได้ไปเที่ยวแต่ไปแบบจะไม่กลับมาอีก ประเทศนี้ไม่เหมาะกับน้องสาวผมถึงขนาดต้องหนีไปที่ที่ดีกว่าบทบาทใหม่ของน้องสาวพี่ พี่จะติดตามเสมอ แม้จะอยู่คนละซีกโลกยังไงก็ตาม ใจนึงเสียดายที่จะไม่ได้เจอน้องที่เมืองไทยอีกแล้วบรรยากาศที่น้องมาที่บ้านแล้วสนุกสนานจะไม่มีอีกต่อไปแต่ใจนึงก็ดีใจที่น้องจะไปมีชีวิตใหม่ที่ไม่มีอะไรทำร้ายน้องได้กวางเลือกที่จะไปเริ่มต้นชีวิตใหม่ที่อื่นแล้ว ยินดีกับทางเลือกนี้พี่จะไปเยี่ยมบ่อยๆนะ @ยิ้มยิ้ม ผมไม่ลืมสัญญาร้านกัญชาของเรานะพี่ เราจะไปเปิดที่นั่นให้ได้ ผมขอเก็บเงิน 2 ปีครับ ”
ซึ่งภายหลัง เพจของ กวาง เดียร์ลอง ก็ได้มาโพสต์เกี่ยวกับประเด็นการย้ายประเทศที่เป็นข่าวดัง ณ เวลานั้นว่า “สวัสดีค่ะทุกคนกวาง เดียร์ลองนะคะกวางอยากจะบอกว่า…กวางยังเพิ่งเริ่มต้นในเรื่องการย้ายมาที่นี่ไหนจะทั้งเรื่องภาษา และเรื่องการขอทุนเรียนเพื่อต่อยอดในเรื่องการทำงาน หาที่อยู่ และอื่นๆต่อไปค่ะกวางไม่ได้มีอภิสิทธิ์พิเศษใดๆมากกว่าใคร แค่มีความตั้งใจจะย้ายมาที่ที่เหมาะกับตัวเองถึงจะดูยากหน่อย แต่เดียร์ลองมันถนัดเรื่องที่คนอื่นเค้าไม่ทำกันอยู่แล้วนี่ มันสู้จะตาย แต่ยังไงก็ขอบคุณทุกคนที่ให้ความสนใจนะคะถ้าจะให้แนะนำเรื่องการย้ายประเทศกวางก็คงแนะนำไปไม่ได้มากกว่าอากู๋เกิ้ลหรอกค่ะ ฮ่าๆด้วยรัก เดียร์ลองสองไมค์”
หากอ่านจากเพจสรยุทธ์ สุทัศนะจินดา กรรมกรข่าว ข้อมูลที่ได้มานั้นมีความเข้าใจผิดและมีความถูกต้องอยู่บางส่วน เนื่องจากการเพจของเพจสรยุทธ์ สุทัศนะจินดา กรรมกรข่าวได้ทำได้การรับข้อมูลข่าวจากเพจ ขอบสนามของคุณเบลล์ ขอบสนามอีกทีหนึ่ง ซึ่งข้อมูลไม่ได้มาจากเพจหลักของกวาง เดียร์ลองจุงเป็นคำถามต่อไปว่าทำไมถึงมีการแชร์ข้อมูลแบบถูกๆผิดๆแบบนี้เกิดขึ้นจากการแชร์ข้อมูลของอินฟลูเอนเซอร์ และผู้บริโภค
แชร์ข่าวต่อจาก อินฟลูเอนเซอร์ เป็นผู้ปล่อย fake news ผิดหรือไม่
แม้กระทั่งตัวของอินฟลูเอนเซอร์เองก็ไม่อาจจะรู้ได้ว่าข้อมูลที่เข้าได้รับมาทั้งหมดนั้นจะเป็นข่าว หรือชุดข้อมูลที่ถูกต้องเสมอไปดังนั้นแล้วผู้บริโภคข่าวหรือข้อมูลก็ไม่อาจหลีกเลี่ยงที่จะแชร์ข่าวเท็จได้เหมือนกัน ณ ปัจจุบันในโลกสมัยใหม่ที่มีการเคลื่อนไหวทางข้อมูลได้อย่างรวดเร็วและไร้พรมแดนนั้นไม่มีตัวกลางที่เรียกข่าวกรองได้ อย่างเต็มที่ที่จะมาตัดสินใจว่าถูกหรือผิด จริงหรือเท็จได้ครบถ้วน มีเพียงตัวของผู้บริโภคเท่านั้นที่จะมาเป็นผู้ตัดสินใจได้ว่า ข่าวหรือข้อมูลที่ได้อ่านนั้นจะเป็นจริงเท็จก็ล้วนอยู่ที่ทางผู้บริโภคจะตัดสินใจเชื่อว่า ข่าวนั้นเป็นจริงหรือไม่ เพราะวันหนึ่งข่าวที่ได้แชร์นั้นจะเป็นข่าวจริงแต่พอกาลเวลาผ่านไปก็อาจจะกลายเป็นข่าวปลอมในอนาคตก็เป็นได้ ฉนั้นเราไม่อาจบอกได้เลยว่าแชร์ข่าวต่อจาก อินฟลูเอนเซอร์ เป็นผู้ปล่อยข่าวเท็จนั้นเราจะผิดหรือไม่ผิดนั้นก็ล้วนการตัดสินใจของการเชื่อข่าว ข้อมูลของตัวเราเองทั้งสิ้นว่า ข่าวที่เราได้แชร์นั้นจะเป็นข่าวเท็จหรือข่าวจริงหรือไม่ เรากลับไม่ได้เป็นตัวตัดสินใจว่าจริงหรือไม่จริง แต่สิ่งที่ทำได้นั้นคือ เชื่อหรือไม่เชื่อ ในข่าวนั้นต่างหากที่เราสามารถที่จะทำได้ ดังนั้นการแชร์ข่าวต่อจาก อินฟลูเอนเซอร์ เป็นผุ้ปล่อยข่าวเท็จนั้นไม่ผิด แต่เพียงแค่เลือกที่จะเชื่อเพียงเท่านั้น เราไม่ได้เป็นผู้ตัดสินว่าเป็นข่าวจริงหรือข่าวเท็จเพียงเท่านั้นเอง.
อ้างอิง
กิติยา สุริวรรณ พิชามน พวงสุวรรณ และอุรพี จุลิมาศาสตร์. (2559). ความสัมพันธ์ระหว่างผู้ทรงอิทธิพลทางความคิด ผู้บริโภค และตราสินค้า. วารสารการสื่อสารและการจัดการ นิด้า, ปีที่ 2 กันยายน- ธันวาคม 2559(ฉบับที่ 3), หน้า86.
นายฌาธร มารศรี. (2561). ปัจจัยทีมีอิทธิพลให้บุคคลเชื่อ หรือแชร์บทความเท็จบนสังคม. (วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาธรรมศาสตร์), หน้า 7.