DIY Testbed (test case)จากเคสคอมพิวเตอร์เก่า ใช้งานได้ ประหยัดเงินซื้อ
สำหรับช่างซ่อมคอมพิวเตอร์ หรือแม้แต่พ่อค้าแม่ค้า อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ online ที่ต้องมีการทดสอบอุปกรณ์ให้ลูกค้าดู ก่อนที่จะมีการซื้อขาย ผ่านช่องทางออนไลน์ต่างๆ ก็ไม่พ้น อุปกรณ์ที่ชื่อว่า Test Bed หรือ Test Case หรือ test bed case ที่ใช้เป็นตัววาง Mainboard ให้มีความสะดวกในการถอดออก ใส่เข้า ของอุปกรณ์ต่างๆง่ายๆ เพราะหากใช้ Case ปกติ มันจะติดตั้งยาก ถอดยาก และที่สำคัญคือ มันจะเป็นการโชว์อุปกรณ์ตัวนั้นๆขณะทำงาน ทำให้ลูกค้ามีความมั่นใจมากขึ้นในการซื้อขายอุปกรณ์คอมพิวเตอร์
ซึ่งผมเองก็เคยคิดว่าจะหาซื้อมาใช้งานเหมือนกัน พวก TestBed พวกนี้ แต่เมื่อไปเสาะหาในร้านต่างๆ ในร้านค้าออนไลน์ ก็มีตั้งแต่ 300 บาท จนถึงหลักพัน สภาพก็ตามราคาครับ ถูกๆก็จะก้องแก๊งหน่อย ถ้าหากแพงก็หลักพันหรือหลายพัน ซึ่งก็แล้วแต่คนชอบ หากรับได้กับราคาแพงๆ ซึ่งผมคิดว่า มันเกินความจำเป็นเกินไป จนไปคิดว่า เอ่อ ทำไม เราไม่ทำใช้เองล่ะ เคสเก่าๆเราก็มีเยอะ จึงเป็นที่มาว่าผมจึงลองทำมาใช้เอง
เคสเก่าๆที่นำมาใช้ทำ DIY TestBed ในครั้งนี้
- เป็นเคสที่เราจะไม่ใช้แล้ว พร้อมทำลาย
- เป็นเคสที่มียี่ห้อ ซึ่งโครงสร้างมีมาตรฐาน
- เป็นเคสที่มีเหล็กโครงสร้างที่หนาระดับหนึ่ง ไม่ก้องแก๊ง
จริงๆแล้ว การเอาเคสเก่าๆมาทำ ไม่ใช่เรื่องยาก แต่ไม่ใช่แค่แกะน๊อตออกก็จบ แต่เราจะต้องแกะหมุดที่ยึดจุดต่างๆของเคสให้ออก ผมขอแนะนำเลยว่า วิธีการที่ใช้เอาหมุดตรงนี้ออกง่ายสุดคือ ใช้สว่านไฟฟ้าครับ โดยใช้หัวสว่านเจาะเหล็ก ขนาดเล็กว่า หรือเท่ากับหัวหมุดครับ
* หัวหมุด เค้าน่าจะเรียกว่า Rivet
วิธีการทำคร่าวๆ
1.เราจะแกะหมุดยึด Rivet เกือบทุกข้าง ยกเว้น ด้านล่างที่ใช้ยึด MainBoard และด้านหลังเคส(ที่ใส่ฝากหลัง)
2. มันจะเหลือ 2 แผ่น ที่ยึดติดกัน แต่ว่ามันอาจจะดูโยกเยกไปหน่อย สิ่งที่ทำให้มันดูแข็งแรง คือ ใช้กาวร้อนช่วยครับ เราสามารถอัดกาวร้อนตรงรอยต่อให้แข็งแรง
3. ที่เหลือคือ อาจจะทำฐานตั้งกับพื้นก็ได้ ซึ่งในนี้ผมใช้ด้านล่างของเคส มาทำเป็นส่วนล่าง
บทสรุปการทำ DIY Test Bed หรือ Test Case
การทำ DIY ในครั้งนี้ เน้นความประหยัด เราใช้เคสเก่า แต่ว่าควรเลือกเคสเก่าที่มีความแข็งแรงของเหล็กพอสมควร หากเคสที่นำมาทำ ไม่แข็งแรง จะทำให้เคสมันบิดงอได้ง่าย เพราะมันไม่ได้ทำมาสำเร็จรูป เราเอามาทำเองจึงต้องระวังตรงนี้นิดหนึ่ง ไม่เช่นนั้น มันจะเบี้ยว ผิดรูปช่องน๊อตต่างๆมันจะไม่ตรงได้ และเคสที่เอามาทำ หากสามารถเลือกได้ คือเลือกเคสประเภท ATX จะดีมาก เพราะมันจะใส่ได้ทั้ง ATX, mATX(ยกเว้นขนาดใหญ่พิเศษ ซึ่งไม่ค่อยเจอเท่าไหร่) แต่ในกรณีนี้ คือ mATX แต่ก็สามารถใส่เมนบอร์ด ATX ได้ ไม่มีปัญหาใดๆ เพียงแต่มันจะดูล้นๆออกมาหน่อยเท่านั้น
ข้อดี
ข้อเสีย
อาจจะไม่สวยถูกใจ หากเคสที่ใช้ไม่ค่อยดี ,ต้องลงแรง เสียเวลาทำ ต้องมีอุปกรณ์ เช่น สว่านเอาไว้เจาะหมุดยึด(Rivet) และไม่เหมาะสำหรับคนขี้เกียจทำ ซึ่งถ้าเป็นแบบหลัง ให้ซื้อเอาดีกว่า 55