อันตราย แบตเตอรี่รถจักรยานยนไฟฟ้า ตรวจเช็คก่อนที่จะอาจจะเกิดระเบิดขึ้นได้ เจอกันตัวเอง เกือบไปแล้ววว
เกือบเป็นเหตุการณ์ โศกนาฏกรรมไปซะแล้ว สำหรับผู้ที่มีรถจักรยานยนต์ไฟฟ้า ที่เริ่มมีอาการใช้งานได้เพียงเล็กน้อย แล้วก็ไฟหมด หรือขับต่อไม่ได้แล้ว แต่ก็เอามาชาร์จตลอด โดยไม่รู้ว่าแบตเตอรี่ของรถ มันไม่ไหวแล้วว
จากข่าวที่เคยเห็น รถจักรยานยนต์ไฟฟ้าที่ชาร์จแบตอยู่เกิดเหตุระเบิดขึ้น ไฟลุกท่วม เป็นที่น่าสยดสยองมากๆ ทำเอาหลายๆคนไม่กล้าใช้รถไฟฟ้ากันเลยทีเดียว ตอนนั้นก็รู้สึกกลัวกันทั่วบ้านทั่วเมือง และตัวผมเองก็ใช้รถประเภทนี้ซะด้วยสิ จะเอายังไงกันดี แต่สุดท้ายผมก็ยังใช้งานตามปกติ เมื่อเวลาผ่านไป(ลืม เลือน 55)
ย้อนภาพเก่าๆ ที่รถไฟฟ้า ระเบิดขณะชาร์จแบตเตอรี่
ตอนแรกที่ดูข่าว ก็ทราบได้ทันทีว่าเป็นที่แบตเตอรี่ แน่นอน เพราะคงเป็นอย่างอื่นไปไม่ได้ และวันนี้ก็ได้มาเจอกับตัวเองที่ต้องร้อง อ๋อออ.. ออกมายาวๆ เพราะว่า ป้าให้ไปดูรถไฟฟ้าให้หน่อย มันชาร์จไม่ค่อยเข้าแล้ว เราจะแก้ไขได้หรือไม่ ซึ่งผมก็ไม่รอช้า แกะมาดูแบตทันที
แรกสุด ดูเผินๆพบว่า แบตเตอรี่ก็ดูปกติดีนะ ไม่เห็นมีอะไร
ผมก็สอบถามกับป้าไปว่า รถคันนี้ ป้าชาร์จยังไง ป้าก็บอกว่า ป้าชาร์จทุกวันวันละ 1-2 ชม. พอมันเต็มแล้วก็บางครั้งก็หยุด บางครั้งปล่อยไว้ 3-4 ชม.ต่อวันก็มี ใช้เครื่องชาร์จที่แถมมากับตัวรถนั้นแหละ ป้าตอบ
สุดท้ายผมก็เลยบอกป้าว่า สงสัยต้องเปลี่ยนแบตเตอรี่แล้ว มันคงทำอะไรไม่ได้แล้ว แต่พอจะยกออกมาเท่านั้นแหละ ตะลึงทันที !! ป้าเกือบงานเข้าแล้วไหมล่ะ !!
มาดูสภาพแบตเตอรี่ที่เอาออกมา สยองมากๆๆๆ
ข้อสรุปจากเรื่องนี้คือ การใช้ที่ชาร์จแบต แบบที่แถมมากับรถไฟฟ้า เวลามันชาร์จเต็ม มันจะมีไฟดวงเดียว จากสีแดง เป็นสีเขียว ซึ่งเราก็นึกว่ามันจะตัดไฟฟ้าให้เรา แต่ความจริงแล้วมันไม่ตัดครับ มันคงจะปล่อยกระแสไฟฟ้าออกไปยังแบตเตอรี่เช่นเดิม แล้วหากเราชาร์จทิ้งไว้นานๆ เช่น ตอนกลางคืน แบบในข่าว หากว่าความร้อนมันสะสมจากการที่แบตเตอรี่มันเต็มแล้ว แต่เราก็ดันไปส่งกระแสไฟฟ้าไปอีกเรื่อยๆ ทำให้แบตเตอรี่มันร้อนขึ้นเรื่อยๆ จนบวม จนสุดท้ายมันทนไม่ไหวก็เกิดระเบิดขึ้นตามข่าว
ตัวอย่างที่ชาร์จแบตเตอรี่รถไฟฟ้าที่มักจะแถมมาให้ และจะไม่ตัดไฟ หากชาร์จเต็มแล้ว
ซึ่งวิธีแก้ไขเบื้องต้นคือ หาที่ชาร์จที่ไว้ใจได้ ที่มันชาร์จแล้ว พอแบตเต็ม ก็จะตัดกระแสไฟฟ้า (ต้องดูดีๆ ว่ามันตัดจริงไหม ไม่ใช่แค่ขึ้นไฟเขียวนะ) มันเช็คได้โดย ใช้ mutimeter วัดโวลท์ V ชนิด DC หากวัดตรงสายที่เสียบ แล้วขึ้นประมาณว่า 58-59 V อะไรประมาณนี้ แสดงว่า มันไม่ตัดกระแสไฟฟ้านะครับ แต่ถ้ามันไม่ขึ้น V อะไร หรือเป็น 0 V แบบนี้ แสดงว่าใช้ได้ (สามารถหาดูตาม Youtube ได้ครับ)
>>> แนะนำคลิปนี้ครับ สอนได้ละเอียดดีมากครับ โปรโมทวีดีโอให้ฟรีๆ เลยครับ เพราะพี่เค้าสอนดีมาก ครบถ้วนเรื่องที่ชาร์จแบตรถไฟฟ้าเลยครับ ได้ประโยชน์กับคนทั่วไปจริงๆครับ ชื่นชมครับผม
สุดท้ายนี้ การใช้เครื่องชาร์จแบตเตอรี่(Battery) ก็มีความสำคัญมากนะครับ และส่วนใหญ่ที่แถมมากับรถไฟฟ้า จะเป็นของราคาถูก ซึ่งมันจะไม่ตัดกระแสไฟฟ้าชนิด 100% ครับ มันเต็มแล้วก็ยังมีกระแส ออกไปอยู่ดี แบบนี้ใช้ได้แต่ต้องระวังครับ เต็มแล้วต้องถอดปลั๊กให้เร็วจะดีที่สุด แต่ถ้าใครจะชาร์จแบบค้างคืน ต้องหาที่ชาร์จดีๆไว้ใช้งานครับ จะปลอดภัยกว่า